รากฟันเทียม วิธีการสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติระหว่างใส่ รากฟันเทียม เพื่อให้ปฏิบัติตน และดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี
รากฟันเทียม และกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง วิธีการสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติระหว่างใส่ รากฟันเทียมกิจกรรมที่ควรเลี่ยง และพฤติกรรมเคยชินหากกำลังใส่ รากฟันเทียม
- ไม่ควรทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรืออาหารที่ทำให้ต้องออกแรงเคี้ยวเยอะๆ ส่งผลให้รากฟันเทียม หลุดได้
- ไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก หากขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องนี้นอกจากจะส่งผลถึงอายุการใช้งานของรากฟันเทียมอีกด้วย หากไม่ดูแล การใช้งานของรากเทียมก็จะมีอายุน้อยลง หรือส่งผลร้ายแรงที่สุด คืออาจทำให้รากเทียมเสื่อมสภาพ การใส่รากเทียมใหม่อาจจะเป็นเรื่องยากปริมาณกระดูกและเหงือกโดยรวมก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการฝังรากเทียมครั้งใหม่
- การออกกำลังกายหนักๆ หรือประเภทที่ต้องใช้แรงปะทะ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุการกระทบ หรือบริเวณที่ทำรากฟันเทียมได้
- หลีกเลี่ยงกีฬาทางน้ำ โดยเฉพาะหลังการทำรากเทียมใหม่ๆ ในช่วง 1 – 2 เดือนแรก เพราะอาจทำให้แผลหรือบริเวณที่ทำรากเทียมเกิดการติดเชื้อ
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เนื่องจากสองสิ่งนี้เป็นตัวการที่ทำให้เหงือกอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายที่สุด เพราะฉะนั้นควรลดการดื่มและการสูบ เพื่อให้สุขภาพช่องปากและรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ความผิดปกติเมื่อขณะใส่ รากฟันเทียม
-
- มีอาการเหงือกบวม ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการข้างเคียงหลังการทำ รากฟันเทียม เป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากมีอาการบวมผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บปวดจนทนไม่ไหวร่วมด้วยเป็นเวลาหลายวัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูแลอาการทันที
- เจ็บฟันข้างเคียง หรือมีอาการชาหรือมีเลือดออกที่โพรงจมูก มีหนอง บริเวณฟัน เหงือก ริมฝีปาก หรือลิ้น และมีไข้ร่วมด้วย หลังใส่รากเทียมไปแล้วประมาณ 1 – 2 วัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูอาการทันที