Open 10.00 - 20.00

รากฟันเทียม แตกต่างกับ การรักษารากฟันอย่างไร ?

การรักษารากฟันเทียม

รู้หรือไม่ว่า รากฟันเทียม กับ การรักษารากฟัน นั้นแตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน วันนี้จะมาสรุปความแตกต่างระหว่างรากฟันเทียมและการรักษาฟัน พร้อมแนะนำสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหากจำเป็นต้องทำรากฟันเทียมมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

รากฟันเทียมคืออะไร ?

รากฟันเทียมคือวัสดุที่ทำจากไททาเนียม มีรูปร่างคล้ายรากฟันใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมทั้งแบบติดแน่นและแบบถอดได้ ทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับทันตกรรมฟันปลอม ครอบฟัน หรือสะพานฟัน ซึ่งผู้ที่เข้ารับการทำรากฟันเทียมจะต้องมีเหงือกที่แข็งแรงและมีกระดูกเพียงพอสำหรับรองรับรากฟันเทียม แต่ถ้าหากมีกระดูกไม่เพียงพอก็อาจจะต้องทำการปลูกถ่ายกระดูกก่อนที่จะทำรากฟันเทียม

การรักษาโดยการใส่รากฟันเทียมในปัจจุบัน มีเทคนิคในการรักษา ดังนี้

  • การออกแบบวางแผนการรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อความแม่นยําและมีประสิทธิภาพสูงสุด เราสามารถเห็นภาพเคสการรักษาตั้งแต่เริ่มจนจบ และสามารถดูอวัยวะข้างเคียงเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายได้
  • การใส่รากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน เพื่อให้คนไข้ลดการทําผ่าตัด และความบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น
  • การบูรณะด้วยการทำฟันรากเทียมทั้งปาก ในเทคนิคที่เรียกว่า All on4 โดยการใส่รากเทียม เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอมทั้งปากแบบติดแน่น และผู้ป่วยสามารถได้ฟันภายในเวลา 1 อาทิตย์
  • การใส่ฟันชั่วคราวแบบติดแน่นบนรากเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีฟันใช้ขณะรอรากเทียมยึดติดกับกระดูก
  • การปลูกกระดูกพร้อมกับการใส่รากเทียม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต่าง ๆ ในช่องปาก หรือในโพรงอากาศ

การรักษารากฟันทำได้อย่างไร ?

การรักษารากฟัน คือ การกำจัดเนื้อเยื่อและเส้นประสาทที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบ ภายในโพรงประสาทฟันและคลองรากฟันออก หลังจากนั้นจึงทำความสะอาดภายในคลองรากฟันให้สะอาดปราศจากเชื้อ  แล้วจึงทำการซ่อมแซมด้วยการอุดปิดคลองรากฟัน เพื่อในการรักษารากฟันนี้ให้มีความแข็งแรงเหมือนฟันธรรมชาติ โดยกระบวนการรักษารากฟันมีจุดมุ่งหมายหลักคือ ช่วยให้ยังสามารถเก็บฟันไว้ได้ไดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป  กระบวนการ รักษารากฟัน ด้วยการทำความสะอาดและกำจัดเชื้อจุลชีพ ทันตแพทย์จะใช้วิธีหลาย ๆ อย่างร่วมกัน โดยจะขูดเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก และ การล้างโพรงประสาทฟัน ด้วยน้ำยา ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ภายหลังกระบวนการรักษารากฟัน เสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะ แนะนำให้ทำการซ่อมแซมฟันซี่นั้นๆ ด้วยการปักเดือยฟัน และ ทำการครอบฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่นั้น แตกภายหลังการรักษารากฟัน ซึ่งฟันที่ทำการรักษารากฟันแล้วก็สามารถดูแลรักษาฟันได้เช่นเดียวกับฟันที่ปกติ ซึ่งไม่ควรใช้งานบดเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะเป็นของแข็งในช่วงแรก ๆ

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าทั้งสองวิธีจะแตกต่างกัน การฝังรากเทียมต้องเป็นการผ่าตัดและใช้เวลานานกว่าการรักษารากฟัน แต่การรักษารากฟันก็ต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ด้วยเพราะบางเคสฟันอาจจะต้องถอดและทำการฝังรากเทียมลงไป ฉนั้นการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างดี แปรงฟันบ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมถึงการเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน และเพื่อสุขภาพฟันที่ดี สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับทาง Dentist at Home ซึ่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทันตกรรมทุกแขนงพร้อมให้คำปรึกษา และทำการรักษาอย่างมืออาชีพ ใช้เครื่องมือที่มีความทันสมัย ปลอดภัย ได้มาตรฐานเพื่อให้คุณมั่นใจในรอยยิ้มได้อีกครั้ง