คลินิกทันตกรรม Dentist@home

แม้ว่าการทำฟันปลอมแบบติดแน่น หรือฟันปลอมถาวรจะสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิต แต่ถ้าหากคนไข้ทำฟันปลอมถาวรดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี เช่น แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ไหมขัดฟัน หรือไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก ทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็อาจส่งผลให้ รากฟันเทียม เกิดอาการโยก หรือรากฟันเทียมอักเสบ และส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้

อาการรากฟันเทียมหลวมมีลักษณะอย่างไร ?

ลักษณะอาการรากฟันเทียมหลวม หรือขยับ จะแบ่งเป็น 2 อย่างหลัก ๆ

  • รากฟันเทียมหลวมร่วมกับอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ : เช่น เจ็บ บวม เลือดซึม มีหนอง มีกลิ่น หรือรุนแรงถึงขั้นรากฟันเทียมหลุดออกมา ส่วนใหญ่แล้วจะพบในระยะแรกของการรักษา มักเกิดจากผลข้างเคียงของการฝังรากฟันเทียม เช่น รากฟันเทียมไม่เชื่อมติดกับกระดูกขากรรไกร เบ้ากระดูกขากรรไกรละลาย หรือเหงือกอักเสบติดเชื้อรุนแรง
  • รากฟันเทียมหลวม หรือโยกเฉย ๆ : ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากฝาปิดรากฟันเทียม (Healing Abutment) หลวมจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสึกหรอของวัสดุ ทันตแพทย์ขันตัวหมุดปิดไม่แน่นพอ หรือเนื้อเยื่อเหงือกมีแรงเค้นตึงมากเกินไปจนทำให้ฝาปิดรากฟันเทียมคลายตัว

วีธีดูแลรากฟันเทียมไม่ให้หลวม

การดูแลรักษารากฟันเทียมไม่ให้เกิดอาการขยับ หรือหลวมก็เหมือนกับการดูแลรักษาฟันและช่องปากทั่วไป แต่อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปกติ ดังนี้

  • ทำความสะอาดฟันและช่องปากอย่างถูกวิธี
    • ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน ใช้เวลาแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที โดยจะต้องเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มกับยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และจะต้องระมัดระวังไม่ให้ใช้แรงมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการเหงือกร่นได้ การใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ นอกจากการแปรงฟันแล้ว คุณจะต้องใช้ไหมขัดฟันควบคู่ด้วยทุกครั้ง เพราะการแปรงฟันอาจไม่สามารถกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันได้หมด ซึ่งจะช่วยลดการสะสมของคราบหินปูนและช่วยให้สุขภาพเหงือกดีขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็ง หรือเหนียว
    • แม้ว่าฟันปลอมแบบติดแน่นจะมีความแข็งแรงและมีแรงบดเคี้ยวมากกว่าฟันปลอมชนิดอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะแข็งแรงเทียบเท่ากับฟันจริง ๆ จึงควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่เป็นของแข็ง หรือเหนียว เช่น น้ำแข็ง กาละแมร์ ถั่วแข็ง ข้าวโพดฝัก หมากฝรั่ง หรือทอฟฟี่ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันปลอมแตก หัก หรือกระดูกเบ้าฟันเกิดการละลายจากแรงกระแทกจนส่งผลให้รากฟันเทียมหลวม หรือโยกตามมาได้
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก ขูดหินปูน และรากฟันเทียมทุก ๆ 6 เดือน
    • ในผู้ที่ทำรากฟันเทียมหรือฟันปลอมแบบติดแน่นนั้น คุณควรที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมกับครอบฟัน พร้อมตรวจดูว่ารากฟันเทียมยังคงติดแน่นอยู่หรือเปล่า รวมถึงทำการขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบด้วย

จะเห็นได้ว่า อาการรากฟันเทียมหลวม มีทั้งอาการที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย แต่ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบไหนก็ควรที่จะรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมาจนทำให้การรักษาเป็นได้ยากขึ้นได้ สำหรับใครที่มีปัญหารากฟันเทียมหลวม ขยับ หรือรากฟันเทียมอักเสบ สามารถเข้ามาตรวจดูอาการที่ Dentist at home ได้ เรามีทันตแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการฝังรากฟันเทียม พร้อมดูแลรักษาทุกเคสด้วยความใส่ใจ